หัวข้อ   “คนดอนเมืองคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12
กรุงเทพโพลล์ใช้วิธีวิจัยใหม่สำรวจคะแนนนิยมเลือกตั้งซ่อมดอนเมือง พบ อี้ แทนคุณ นำ แซม ยุรนันท์
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ด้วยวันที่ 16 มิถุนายนที่จะถึงนี้ จะมีการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขตเลือกตั้ง
ที่ 12 เขตดอนเมือง (ยกเว้นแขวงสนามบิน)  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์) จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “คนดอนเมืองคิดอย่างไร
กับการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12
”  โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ
18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตดอนเมือง  เมื่อวันที่ 27 - 30 พฤษภาคม
ที่ผ่านมา   โดยมีวัตถุประสงค์การสำรวจเพื่อศึกษาวิธีวิจัยที่เหมาะกับการแสดงออก
ทางการเมืองของสังคมไทย และเพื่อสะท้อนความเห็นของคนดอนเมืองต่อ
การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.
  พบว่า
 
                 คนดอนเมืองร้อยละ 96.1 คิดว่าจะไปเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต
เลือกตั้งที่ 12
มีเพียงร้อยละ 3.9 ที่คิดว่าคงไม่ได้ไปสำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการ
ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12 อันดับแรก คือ ตัวผู้สมัคร
/ความรู้ความสามารถ/ผลงานที่ผ่านมา (ร้อยละ 46.3)
  รองลงมาคือ นโยบาย
ของผู้สมัคร (ร้อยละ 32.9) พรรคการเมืองที่สังกัด (ร้อยละ 19.5) และผู้สมัครอิสระ/
ไม่สังกัดพรรค (ร้อยละ 1.3)
 
                 ส่วนความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12
(เขตดอนเมือง) ท่านจะเลือกใคร” พบว่า อันดับแรกคือ เบอร์ 8 นายแทนคุณ จิตต์อิสระ จากพรรคประชาธิปัตย์
(ร้อยละ 29.0)
  รองลงมาคือ เบอร์ 9 นายยุรนันท์ ภมรมนตรี จากพรรคเพื่อไทย (ร้อยละ 26.7)  ขณะที่ร้อยละ 28.9
ยังไม่ได้ตัดสินใจ  และร้อยละ 13.4 ตัดสินใจแล้วแต่ไม่ขอเปิดเผย
 
                 สุดท้ายเมื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ ในแต่ละด้าน พบว่า ในภาพรวม
ทั้งหมด 5 ด้าน นายแทนคุณ จิตต์อิสระ (ร้อยละ 27.6) มีภาพลักษณ์ที่เหนือกว่านายยุรนันท์ ภมรมนตรี
(ร้อยละ 24.3)
  โดยเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า นายแทนคุณ มีภาพลักษณ์ที่เหนือกว่าในด้าน ความรู้ ความสามารถ
ผลงานที่ผ่านมา /ความเอาใจใส่ดูแล และเข้าถึงพี่น้องประชาชน /และยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ขณะที่นายยุรนันท์
มีภาพลักษณ์เหนือกว่าในด้านความเป็นผู้นำ /และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 
                  รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. ความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12 (เขตดอนเมือง) ในวันที่ 16 มิ.ย. 2556 นี้

 
ร้อยละ
คิดว่าจะไป
96.1
คิดว่าคงไปไม่ได้
3.9
 
 
             2. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12 (เขตดอนเมือง) ที่จะถึงนี้

 
ร้อยละ
ตัวผู้สมัคร/ความรู้ความสามารถ/ผลงานที่ผ่านมา
46.3
นโยบายของผู้สมัคร
32.9
พรรคการเมืองที่สังกัด
19.5
ผู้สมัครอิสระ/ไม่สังกัดพรรค
1.3
 
 
             3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12 (เขตดอนเมือง)
                ท่านจะเลือกใคร”

 
ร้อยละ
เบอร์ 8 นายแทนคุณ จิตต์อิสระ จากพรรคประชาธิปัตย์
29.0
เบอร์ 9 นายยุรนันท์ ภมรมนตรี จากพรรคเพื่อไทย
26.7
เบอร์อื่นๆ
0.9
ยังไม่ตัดสินใจ
28.9
ตัดสินใจแล้วแต่ไม่ขอเปิดเผย
13.4
งดลงคะแนน
1.1
              หมายเหตุ : ถ่วงน้ำหนักตามประเภทที่อยู่อาศัยในชุมชน
 
 
             4. การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ ในแต่ละด้าน

ด้าน
เบอร์ 8
นายแทนคุณ
(ร้อยละ)
เบอร์ 9
นายยุรนันท์
(ร้อยละ)
พอๆ กัน
(ร้อยละ)
1. ความเป็นผู้นำ
22.9
29.0
48.1
2. ความรู้ ความสามารถ ผลงานที่ผ่านมา
30.1
24.5
45.4
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
24.4
24.6
51.0
4. ความเอาใจใส่ดูแล และเข้าถึงพี่น้องประชาชน
36.2
21.4
42.4
5. ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
24.6
21.8
53.6
เฉลี่ยรวม
27.6
24.3
48.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อศึกษาวิธีวิจัยที่เหมาะกับการแสดงออกทางการเมืองของสังคมไทย
                  2. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการตั้งเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12 (เขตดอนเมือง)
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตดอนเมือง
(ยกเว้นแขวงสนามบิน) ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมาย
ที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว และการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 764 คน เป็นเพศชายร้อยละ 43.6 และเพศหญิงร้อยละ 56.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  27 - 30 พฤษภาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 มิถุนายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
333
43.6
             หญิง
431
56.4
รวม
764
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
136
17.8
             26 – 35 ปี
154
20.2
             36 – 45 ปี
156
20.4
             46 ปีขึ้นไป
318
41.6
รวม
764
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
560
73.3
             ปริญญาตรี
190
24.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
14
1.8
รวม
764
100.0
อาชีพ:    
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
78
10.2
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
113
14.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
159
20.8
             รับจ้างทั่วไป
70
9.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
237
31.0
             นักศึกษา
64
8.4
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
43
5.6
รวม
764
100.0
ชุมชนที่อาศัย:    
             ชุมชนบ้านจัดสรร
407
53.3
             ชุมชนแออัด
191
25.0
             ชุมชนริมคลองเปรมประชากร
78
10.2
             ชุมชนชานเมือง
19
2.5
             ชุมชนเมือง
69
9.0
รวม
764
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776